***#คำถามที่พบบ่อย***
#ประกันภัยรถยนต์ #พรบ
#รับสมัครตัวแทนและฝึกงานฟรี
#สอนฟรีทางรวย
👉0871463000
👉แชทสด Line: pw95
ถาม : ทุนประกัน กับ เบี้ยประกัน แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ : ในการประกันภัยรถยนต์ คำว่า ทุนประกัน จะหมายถึง สินไหมทดแทนที่บริษัทประกันจะจ่ายให้กับผู้เอาประกัน กรณีรถยนต์สูญหาย หรือกรณีเสียหายโดยสิ้นเชิง ซึ่งส่วนมากมักเป็นหลักแสน ส่วนคำว่า เบี้ยประกัน คือ เงินที่ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายกรณีซื้อประกัน หรือก็คือ ราคาขาย ของกรมธรรม์นั้นนั่นเอง มักจะเป็นหลัก พันถึงหลักหมื่น
........................................................
ถาม : ค่ารับผิดส่วนแรก (ดีดัก) คืออะไร ต้องจ่ายกรณีใด
ตอบ : ค่ารับผิดส่วนแรก มีหลายชื่อเรียก เช่น deduct (ดีดัก), excess (แอกเซส), accept (แอคเซ็ปท์) ทุกชื่อมีความหมายเหมือนกัน คือ จำนวนเงินที่ท่านต้องจ่ายให้กับบริษัทประกัน กรณีเป็นฝ่ายผิด/ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ และต้องการนำรถเข้าซ่อม หากเป็นฝ่ายถูก ท่านไม่ต้องเสียค่ารับผิดส่วนแรก
ตัวอย่าง: ท่านทำประกันชั้น 1 โดยกรมธรรม์มีเงื่อนไขค่ารับผิดส่วนแรก 5,000 บาท หากเกิดอุบัติเหตุและท่านเป็นฝ่ายผิด ท่านต้องจ่ายเงินให้บริษัทประกัน 5,000 บาท/เหตุการณ์ เพื่อนำรถเข้าซ่อม
......................................................
ถาม : ทำประกันชั้น 1 แต่ทำไมยังโดนเก็บค่าเสียหายส่วนแรก (ดีดัก) 1000 บาท ตอนเคลม
ตอบ : ตามคำสั่งนายทะเบียนสำนักงาน คปภ. บริษัทประกันภัยมีสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรก 1000 บาท ต่อเหตุการณ์ เมื่อรถยนต์คันทำประกันได้รับความเสียหายโดยไม่ได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ และในกรณีเกิดความเสียหายจากการชน แต่ไม่สามารถระบุคู่กรณีให้บริษัททราบได้ โดยคำสั่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2552
ดังนั้นถึงแม้จะทำประกันชั้น 1 ที่ไม่มีเงื่อนไขค่ารับผิดส่วนแรก แต่หากเคลมโดยไม่สามารถระบุคู่กรณีที่ชัดเจน ก็อาจถูกเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรก 1000 บาทนี้ได้
***ตัวอย่างกรณีที่ไม่เก็บค่าเสียหายส่วนแรก***
ชนยานพาหนะอื่น แจ้งคู่กรณีได้
ชนเสา ชนประตู
ชนกำแพง
ชนคน ชนสุนัข ชนสัตว์
ชนฟุตบาท ชนขอบถนน
ชนป้ายจราจร
ชนทรัพย์สินที่ยึดติดแน่นกับพื้นดิน
***ตัวอย่างกรณีที่เก็บค่าเสียหายส่วนแรก***
ถูกขีดข่วน ถูกกลั่นแกล้ง
รอยบุบ รอยลักยิ้ม หินหรือวัสดุกระเด็นใส่
รถตกหลุม ครูดพื้นถนน
กระจกแตก
ถูกสัตว์กัดแทะ ขีดข่วน
กรณีอื่นๆ แจ้งเหตุไม่ชัดเจน
....................................................
ถาม : ชื่อผู้เอาประกัน กับ ผู้ใช้รถจริงเป็นคนละคนกัน ประกันคุ้มครองหรือไม่
ตอบ : ชื่อผู้เอาประกันควรเป็นชื่อเจ้าของตามรายการจดทะเบียนรถ
แต่ความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์นั้นติดไปกับตัวรถ ไม่ได้ติดกับตัวผู้เอาประกัน เช่น ในกรณีที่มีการขายรถต่อไปแล้ว ความคุ้มครองก็ยังมีผลอยู่จนกว่ากรมธรรม์จะหมดอายุ ดังนั้นในการใช้งานจริง ใครขับก็ได้รับความคุ้มครองเหมือนกัน (แต่ทั้งนี้ต้องมีใบขับขี่ ไม่เมา ฯลฯ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์)
...................................................
ถาม : ประกันซ่อมห้าง กับ ซ่อมอู่ คืออะไร ต่างกันอย่างไร
ตอบ : ซ่อมห้าง คือ ในกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุต้องนำเข้าซ่อม รถจะได้รับการซ่อมที่ศูนย์บริการของรถยี่ห้อนั้นๆ หรือ อู่ที่ได้มาตรฐานคุณภาพเทียบเท่า โดยทั่วไปประกันซ่อมห้างมีให้เลือกสำหรับรถใหม่อายุ 1-4 ปี อะไหล่ที่ใช้ในการซ่อมเป็นอะไหล่แท้จากศูนย์บริการ ข้อเสียอย่างหนึ่งของประกันซ่อมห้าง คือ อาจต้องรอคิวซ่อมนานเป็นเดือน
ซ่อมอู่ คือ เข้ารับการซ่อมที่อู่ทั่วไปที่มีข้อตกลงไว้กับบริษัทประกัน ในกรณีที่เป็นรถใหม่อายุ 1-3 ปี บริษัทประกันควรใช้อะไหล่ของแท้จากศูนย์ในการจัดซ่อม หากเป็นรถที่อายุมาก อะไหล่ที่ใช้อาจเป็นอะไหล่มือสอง หรืออะไหล่เทียบเท่า
เบี้ยประกันซ่อมห้างกับซ่อมอู่อาจต่างกันไม่มาก สำหรับรถยี่ห้อที่มีศูนย์บริการที่มีความพร้อมในการซ่อมสี ซ่อมตัวถังอยู่มาก เช่น Toyota เป็นต้น ตรงกันข้าม หากเป็นรถยี่ห้อที่ศูนย์บริการน้อย อาจทำให้เบี้ยประกันซ่อมห้างสูงกว่าเบี้ยประกันซ่อมอู่มาก หรือในบางกรณีอาจไม่มีประกันซ่อมห้างให้เลือกเลย
..........................................................
ถาม : รถมีความเสียหายอยู่แล้วก่อนทำประกัน หรือรอเคลม รอซ่อม สามารถทำประกันชั้น 1 ได้หรือไม่
ตอบ : ในการทำประกันชั้น 1 รถควรอยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนทำประกัน หากรถมีความเสียหายอยู่แล้ว แต่เป็นความเสียหายไม่มาก เช่น รอยครูด 2-3 แผล บริษัทประกันอาจรับทำประกันได้ โดยจะ remark ความเสียหายไว้ในระบบ ซึ่งความเสียหายดังกล่าวไม่สามารถเคลมได้ เนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนรับประกัน หากต่อมาผู้เอาประกันนำรถเข้าซ่อม (เคลมกับประกันเดิม หรือซ่อมเอง) สามารถแจ้งให้บริษัทประกันไปถ่ายรูปรถใหม่ เพื่อลบ remark ได้
ในกรณีที่ความเสียหายมาก บริษัทประกันจะปฏิเสธการรับประกัน
..........................................................
ถาม : จะทำประกันชั้น 1 อยากได้ทุนประกันสูงๆ ยินดีจ่ายเบี้ยแพงขึ้น แต่ทำไมบริษัทประกันไม่ให้ทำ
ตอบ : ทุนประกันที่เหมาะสมคือ ประมาณ 80% ของราคารถ ณ ปัจจุบัน หรืออาจยืดหยุ่นได้ถึง 90% ของราคารถ แต่บริษัทประกันมักจะไม่รับทำทุนประกันเต็มจำนวน 100% ตามราคารถ สาเหตุเนื่องจาก
ต้องเผื่อค่าเสื่อมของรถที่จะเกิดขึ้นระหว่างปี
ต้องการให้ผู้เอาประกันมีความรับผิดชอบกับรถของตนบ้างบางส่วน เพื่อจะได้ช่วยดูแลรักษารถตามสมควร
ไม่ให้เป็นช่องในการหาประโยชน์จากการทำประกันโดยมิชอบ
..............................................................
ถาม : รถอายุเกิน 7 ปี ไม่สามารถทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 จะสามารถทำประกันรถยนต์ประเภทใดได้บ้าง
ตอบ : โดยทั่วไป บริษัทประกันภัยจะรับประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 สำหรับรถอายุไม่เกิน 7 ปี แต่มีบางบริษัทรับถึง 9 ปี
หรือกรณีมีการต่ออายุต่อเนื่องกับบริษัทเดิม อาจพิจารณาอนุโลมรับเกิน 10 ปีได้ พิจารณาจากประวัติการเคลมด้วย
หากอายุรถเกิน 7 ปีแล้วไม่สามารถทำประเภท 1 ได้ จะพิจารณาเลือกประกันประเภทใดแทน
พิจารณาจากความคุ้มครอง มากไปน้อย แนะนำเป็นประเภท 2+ และ 3+ ตามลำดับ
-ประกันประเภท 2+ คุ้มครองตัวรถคันเอาประกันในกรณีชนกับยานพาหนะทางบก และกรณีสูญหาย ไฟไหม้ด้วย
-ประกันประเภท 3+ คุ้มครองตัวรถคันเอาประกันในกรณีชนกับยานพาหนะทางบก ไม่คุ้มครองกรณีสูญหาย ไฟไหม้
หมายเหตุ การนับอายุรถ ให้นับ 1 ตั้งแต่ปีแรกที่ออกรถจากศูนย์บริการ เช่น ออกรถปี ค.ศ. 2009 ให้นับดังนี้
ปี 2009 นับอายุได้ 1 ปี
ปี 2010 นับอายุได้ 2 ปี
....
ปี 2013 นับอายุได้ 5 ปี เป็นต้น
..........................................................
ถาม : ทำประกันชั้น 1 แบบระบุผู้ขับ แต่ตอนเกิดเหตุผู้ขับไม่ใช่ผู้ที่ระบุไว้ เคลมได้หรือไม่
ตอบ : กรณีทำประกันประเภท 1 แบบระบุผู้ขับไว้แต่ตอนเกิดเหตุผู้ขับเป็นคนอื่นที่ไม่ได้ระบุในตารางกรมธรรม์และเป็นฝ่ายผิดตามกฎหมาย สามารถเคลมประกันภัยชั้น 1 ที่ทำไว้ได้ แต่จะต้องเสียค่ารับผิดส่วนแรกดังนี้
- 2,000 บาทแรกสำหรับความเสียหายของทรัพย์สินบุคคลภายนอก เช่น ค่าซ่อมรถคู่กรณี ค่าเสาไฟ หรือต้นไม้ที่ถูกชนหัก เสียหาย เป็นต้น
- 6,000 บาทแรกสำหรับความเสียหายของรถคันเอาประกันภัย กรณีต้องเอารถคันเอาประกันภัยเข้าซ่อม
รวมกันแล้วอาจต้องรับผิดส่วนแรกเองสูงถึง 8,000 บาท ซึ่งมากกว่าส่วนลดที่ได้จากการระบุผู้ขับ ดังนั้นหากไม่มั่นใจว่ารถคันที่เอาประกันจะใช้งานโดยผู้ขับที่แน่นอนในปีเอาประกันแล้ว ก็ไม่ควรทำประกันภัยรถยนต์ แบบระบุผู้ขับ
.........................................................
ถาม : ประกันชั้น 1 ที่เขียนว่า "ชั้น 1 พิเศษ / Low Cost / สำเร็จรูป" คืออะไร
ตอบ : แพกเกจ "ชั้น 1 พิเศษ / Low Cost / สำเร็จรูป" ซึ่งเป็นแพกเกจที่คุ้มครองเหมือนประกันชั้น 1 ปกติทุกประการ แต่อาจมีลักษณะดังต่อไปนี้
มีค่ารับผิดส่วนแรก
มีทุนประกันต่ำ
ทุนประกันตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้
.........................................................
ถาม : ซื้อประกัน 2+ 3+ แบบไม่มีค่ารับผิดส่วนแรก ทำไมกรมธรรม์ออกมามีค่ารับผิดส่วนแรก
ตอบ : เนื่องจากเป็นข้อกำหนดของ คปภ. เรื่องรูปแบบและข้อความในกรมธรรม์ประกันภัย หากบริษัทประกันจะขายประกันต่อประชาชนทั่วไป ต้องเป็นแบบ และข้อความที่ทาง คปภ. กำหนด
กรมธรรม์ 2+ 3+ ในเริ่มแรกจึงระบุตัวเลขความเสียหายต่อตัวรถไว้ 2000 บาท และมีการเก็บจริง ต่อมาเมื่อมีการแข่งขันกันทำตลาด ทำให้มีการอนุโลมไม่เก็บเงินส่วนนี้ในตอนเคลมจริง แต่ไม่ได้ขออนุญาตรูปแบบกรมธรรม์ใหม่ให้ถูกต้องแบบไม่มีค่ารับผิด จึงยังใช้รูปแบบกรมธรรม์เดิมในการจำหน่าย แต่เป็นข้อตกลงกัน ว่าจะไม่เก็บค่ารับผิดส่วนแรกนี้
บางบริษัทมีการขอรูปแบบ กรมธรรม์ใหม่ ที่ไม่เขียนค่ารับผิดส่วนแรกไว้ เช่น กรุงเทพประกันภัย อลิอันซ์ ซีพี เป็นต้น
คำแนะนำ ผู้ที่ซื้อประกันภัยประเภท 2+ 3+ ไว้สามารถตรวจสอบเรื่องการเสียหรือไม่เสียค่า excess ได้โดย
1 ตรวจสอบกับบริษัทรับประกันว่า เลขกรมธรรม์ที่ได้รับ กรณีเคลมจะต้องเสียค่ารับผิดส่วนแรก หรืออนุโลมไม่เสีย
2 ตรวจสอบจากเบี้ยประกันในตารางที่ได้รับว่าเป็นเบี้ยประกันแบบเสียหรือไม่เสียค่ารับผิดส่วนแรก โดยในบริษัทเดียวกัน ที่ทุนประกันเท่ากัน ประกันที่ไม่เสียค่ารับผิดส่วนแรกเบี้ยประกันจะต้องแพงกว่าแบบที่ยินยอมจ่ายค่ารับผิดส่วนแรกเอง
.........................................................
ถาม : คำจำกัดความที่ควรรู้ในกรมธรรม์ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ
ตอบ : ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ
คำจำกัดความที่ควรรู้ในกรมธรรม์ประกันภัยการเดินทางต่างประเทศ
"แพทย์"
หมายความถึง บุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ให้ทำการบำบัดรักษาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในอาณาเขตที่ได้รับอนุญาตนั้นซึ่งใม่ใช่ผู้เอาประกันภัย คู่สมรส ผู้ปกครอง ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยหรือตัวแทน
"พยาบาล"
หมายความถึง บุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลตามกฎหมายในอาณาเขตนั้น
"กระเป๋าเดินทางส่วนตัว"
หมายความถึง กระเป๋าเดินทางส่วนตัวของผู้เอาประกันภัยที่นำไปหรือซื้อเพิ่มเพื่อใช้ส่วนตัวในระหว่างการเดินทาง รวมถึงทรัพย์สิน เสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวในกระเป๋าเดินทางของผู้เอาประกันภัย แต่ทั้งนี้ใม่รวมถึงกระเป๋าสะพายสำหรับสุภาพสตรี หรือกระเป๋าถือของสุภาพบุรุษ
"การลักทรัพย์"
หมายความถึง การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต
"การชิงทรัพย์"
หมายความถึง การลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
"การปล้นทรัพย์"
หมายความถึง การชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
"ระยะเวลาการเดินทาง"
หมายความถึง ระยะเวลาการเดินทางแต่ละครั้งของผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความคุ้มครองซึ่งเริ่มต้นและสิ้นสุดภายในระยะเวลาประกันภัย
กรณีการเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศ (Outbound) ความคุ้มครองให้เริ่มต้นตั้งแต่ผู้เอาประกันภัยเดินทางออกจากที่อยู่อาศัยเพื่อการเดินทางนั้นและดำเนินต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งผู้เอาประกันภัยเดินทางกลับถึงที่อยู่อาศัย เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่นในกรมธรรม์ประกันภัย
กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย (Inbound) ความคุ้มครองให้เริ่มต้นตั้งแต่ผู้เอาประกันภัยเดินทางถึงประเทศไทย และดำเนินต่อเนื่องไปจนกระทั่งผู้เอาประกันภัยเดินทางออกจากประเทศไทย เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่นในกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ทั้งนี้การเดินทางถึงประเทศไทยหรือเดินทางออกจากประเทศไทยนั้น ให้ถือการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองโดยถูกต้องทุกขั้นตอนแล้วเป็นสำคัญ
......................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น